ภาษาจีนมาตรฐาน (อังกฤษ: Standard Chinese) หรือ ผู่ทงฮฺว่า (จีน: 普通话/普通話; พินอิน: Pǔtōnghuà; "ภาษาสามัญ") เป็นภาษามาตรฐานซึ่งเป็นภาษาราชการเพียงหนึ่งเดียวของทั้งประเทศจีนและประเทศไต้หวัน ทั้งยังเป็นหนึ่งในภาษาราชการทั้งสี่ของประเทศสิงคโปร์ ภาษาจีนมาตรฐานออกเสียงตามสำเนียงเป่ย์จิง (北京話) ใช้คำศัพท์ตามสำเนียงกลาง และใช้ไวยากรณ์ตามภาษาจีนที่ใช้เขียนในชีวิตประจำวัน (written vernacular Chinese)
ภาษาจีนมาตรฐานมีวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีนแบบอื่น ๆ เมื่อเทียบกับภาษาจีนที่ใช้ในตอนใต้แล้ว ภาษาจีนมาตรฐานมีพยัญชนะต้นมากกว่า แต่มีสระ พยัญชนะท้าย และวรรณยุกต์ น้อยกว่า นอกจากนี้ ภาษาจีนมาตรฐานยังเน้นหัวเรื่อง (topic-prominent) และเรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม
ภาษาจีนมาตรฐานนั้นใช้อักษรแบบเต็มหรือแบบย่อเขียนก็ได้ ส่วนการถอดเป็นอักษรโรมันนั้นใช้อักษรพินอินแบบฮั่น
ภาษาจีนกลาง เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกภาษาหลักของจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกภาษานี้ว่า ฮวา-ยวี่ (อักษรจีน: 华语/華語) แปลว่าภาษาฮวา ซึ่งคำว่า ฮวา หรือ ฮวาเยริน (อักษรจีน: 华人/華人) เป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกตัวเองในปัจจุบัน สำหรับประเทศจีนจะเรียกภาษานี้ว่า ฮั่นยวี่ (อักษรจีน: 汉语/漢語) แปลว่า ภาษาฮั่น อันป็นภาษาของชาวฮั่น
ภาษาอังกฤษเรียกภาษานี้ว่า Mandarin (แมนดาริน) ซึ่งมีรากจากคำในภาษาโปรตุเกสว่า Mandarim (มันดาริม), จากคำในภาษามลายูว่า Menteri (เมินเตอรี), และจากคำในภาษาสันสกฤตว่า Mantrin (มันตริน) หรือเทียบตรงกับคำไทยว่า มนตรี และคำว่า กว่านฮว่า (อักษรจีน: 官话/官話) กว่าน (อักษรจีน: 官) แปลว่าราชสำนักและ ฮว่า (อักษรจีน: 话/話) แปลว่าพูด เป็นชื่อโบราณที่ใช้เรียกภาษานี้ ปัจจุบันใช้ในเชิงวิชาการเพื่อแยกว่าไม่ใช่ภาษาจีนกลุ่มอื่นเช่น ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษากวางตุ้ง เป็นต้น
ภาษาจีนทางการ
ภาษาหลัก
ภาษาย่อยในภาษาหมิ่น
ภาษาย่อยในภาษาหมิ่นใต้
ภาษาอื่น ๆ ที่พูดในจีน
รับอิทธิพลจากภาษาจีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น